งานกั้นห้อง
ผนังยิปซั่ม
ผนัง Isowall
ผนังกระจก
ผนังอิฐมวลเบา
ผนังอลูมิเนียม
งานฝ้าเพดาน
ยิบซั่ม
Isowall
ฉนวนกันความร้อน
งานพื้น
เทพื้นอาคาร
ซ่อมพื้นเดิม
ทาสีพื้น
ปูกระเบื้องเซรามิค
กระเบื้องยาง
งานหลังคา
หลังคาอาคาร
ที่จอดรถ
ซ่อมหลังคารั่ว
รางน้ำฝน
ลูกหมุนระบายอากาศ
งานผนัง
ทาสีอาคาร
แก้รอยร้าว
เจาะเพิ่มประตู
หน้าต่าง
งานไฟฟ้า
ระบบปกติ
ระบบ 3 เฟส
งานลิฟท์
ติดตั้งลิฟท์
ซ่อมลิฟท์
บริการทั้งหมด
งานกั้นห้อง
งานฝ้าเพดาน
งานพื้น
งานหลังคา
งานผนัง
งานไฟฟ้า
งานลิฟท์
เมนูทั้งหมด

สาระความรู้

รู้หรือไม่ว่า “Reverse Logistics” เอง ก็เป็นอีกกระบวนการทางโลจิสติกส์ที่ควรให้ความสำคัญไม่ต่างกัน

อาจจะเคยได้ยินกันอย่างคุ้นหู เกี่ยวกับกระบวนการทางโลจิสติกส์ต่างๆ ที่มีการบริหารจัดการสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง แต่รู้หรือไม่ว่า “Reverse Logistics” เอง ก็เป็นอีกกระบวนการทางโลจิสติกส์ที่ควรให้ความสำคัญไม่ต่างกัน เพื่อสร้างความได้เปรียบและความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ว่าแต่ว่า Reverse Logistics คืออะไร ไปหาคำตอบกันเลย

Reverse Logistics หรือ โลจิสติกส์ย้อนกลับ เป็นการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบหรือสินค้าจากจุดบริโภคย้อนกลับไปยังแหล่งที่มา เปรียบเสมือนกระบวนการดึงผลิตภัณฑ์กลับจากผู้บริโภคปลายน้ำ เพื่อนำกลับมาสร้างมูลค่าใหม่ หรือกำจัดทิ้งอย่างถูกวิธี ซึ่งประกอบด้วยวัตถุประสงค์หลายประเภท เช่น

  • การส่งคืนสินค้า : ในกรณีที่ผู้บริโภคไม่พอใจในสินค้าหรือสินค้าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
  • การซ่อมแซม: กรณีสินค้าเสียหายหรือต้องการซ่อมแซม จะถูกนำกลับไปยังผู้ผลิต หรือศูนย์บริการ
  • การรีไซเคิล: เป็นกรณีที่ต้องการนำสินค้าที่ใช้งานแล้วกลับเข้าสู่กระบวนการแยกวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น การแยกเหล็กหรือทองแดงจากมอเตอร์ที่เสียแล้วเพื่อนำไปหลอมใช้ใหม่
  • การคืนทุน: เป็นการคืนสินค้า สามารถช่วยให้บริษัทประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น

Reverse Logistics มีประโยชน์ดังนี้

1.ประหยัดต้นทุน โดยการนำสินค้าคืนกลับมาใช้ใหม่ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าใหม่

2.เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า โดยหากมีกระบวนการ Reverse Logistics ที่สะดวกและรวดเร็วในการรับคืนสินค้าหรือแก้ปัญหา จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้นและเป็นการรักษาฐานลูกค้าได้อีกมุมหนึ่ง

3.ช่วยในการพัฒนาสินค้า เพราะกระบวนการ Reverse Logistics จะช่วยให้ทราบถึงข้อมูลสำคัญหลายอย่างจากลูกค้า เช่น ปัญหาที่พบจากการใช้งาน อายุการใช้งาน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะมีประโยชน์ในแง่ของการพัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ ให้ดีขึ้นได้

4.การบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะกระบวนการ Reverse Logistics อาจจะมีวัตถุประสงค์ในแง่ของการรีไซเคิล สามารถนำสินค้าที่ได้คืนมาปรับปรุง ซ่อมแซม หรือแยกส่วนนำกลับไปใช้งานในด้านต่างๆ ใหม่ ถือเป็นการช่วยลดปริมาณขยะ ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

การวางแผนจัดการ Reverse Logistics จึงเป็นอีกหนึ่งส่วนที่ควรให้ความสำคัญในระบบ Supply Chain เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน และมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

Image 1 Image 2